วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 ประจำวันอังคารที่ 25 กันยายน 2555

- ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นโดยบอกข้อดีและข้อจำกัดเกี่ยวกับ

  • การใช้ Tablet ในเด็กชั้นประถมศึกษา
  • การใช้ Tablet ในเด็กชั้นอนุบาล
- ในฐานะที่เป็นครูปฐมวัย จึงควร...

  • ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยคิดว่าเป็นเพียงสื่อชนิดหนึ่ง
  • บริหารจัดการวิธีการใช้ให้เหมาะสม
  • ไม่สามารถนำสื่อตัวนี้มาใช้ให้เป็นทั้งหมดของการเรียนการสอน
  • สื่อที่นำมาสอนส่วนใหญ่ควรเป็นสื่อสามมิติ ต้องเป็นสื่อที่สามารถจับต้องได้ เนื่องจากเด็กต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
- รูปแบบการเรียนรู้จากการสอน

  • การบรรยาย
  • การวิเคราะห์ (แสดงออกโดยการเขียน Mind Map)
  • การลงมือปฏิบัติจริง
  • การค้นคว้าเพิ่มเติม
  • การสรุปความคิด (โดยการเขียน Graphic Organizer)
  • การมอบหมายงาน
  • การระดมความคิด/การมีส่วนร่วม
  • กระบวนการในการแก้ไขปัญหา
  • การทดลอง คือ การปฏิบัติจริง และการนำผลการทดลองมาเป็นความรู้
  • การดูตัวอย่าง (โดยการดูโทรทัศน์ครู)
*ดูโทรทัศน์ครู*

  • เรียนรู้นอกโรงเรียนกับโรงเรียนในป่า

http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=19

     องค์กรภายใต้ชื่อ"โรงเรียนในป่า" ถูกจัดตั้งขึ้นภายในประเทศอังกฤษ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเด็ก บทบาทของครูคือพาเด็กไปที่สถานที่กลางแจ้ง ประมาณสัปดาห์ละครั้งตลอดปี การเรียนในป่าจะทำให้เด็กทำงานอย่างอิสระเพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง การเรียนในป่าเป็นการผสมผสานทั้งการศึกษานอกโรงเรียน,การศึกษาสิ่งแวดล้อมและการเล่นสนุก เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆในธรรมชาติ เด็กสามารถกำหนดสิ่งท้าทายด้วยตนเองและยังทำให้เด็กมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ จากการได้สำรวจ การทดลองและการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

*งานที่ได้รับมอบหมาย*

- ลิงก์เว็ปต่า่งๆ ได้แก่

  • บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • เพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 ประจำวันอังคารที่ 18 กันยายน 2555

- มีการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งจัดในเวลา 14.00-16.00 น.


ชื่อฐานกิจกรรม "ขั้วเหมือนผลัก ขั้วต่างดูด"

อุปกรณ์การทดลอง ได้แก่ แม่เหล็ก,ช้อน-ส้อม,กุญแจ,ก้อนหิน,กิ๊ฟติดผม,กระจก,
คลิปหนีบกระดาษ,สร้อยข้อมือ,กล่องเหล็ก,ไม้บรรทัดเหล็ก-พลาสติก และที่ตัดเล็บ

นักศึกษาแนะนำกิจกรรมและใช้คำถามก่อนการทดลอง
โดยให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมจากการตอบคำถาม

นักศึกษาสาธิตและอธิบายคุณสมบัติของแม่เหล็ก

ให้เด็กได้ทดลองด้วยตนเอง

หลังจากการทำกิจกรรม ก็ประทับตราสัญสักษณ์ให้เด็กๆ

สมาชิกกลุ่ม ดังนี้
1. นางสาวรัชฎาภรณ์ ฤาชา
2. นางสาวนฎา หาญยุทธ
3. นางสาวขัวญชนก เจริญผล
4. นางสาวศิริวรรณ เสากำปัง

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 ประจำวันอังคารที่ 11 กันยายน 2555

- อาจารย์ตรวจกิจกรรมที่ต้องนำไปจัดในวันที่ 18 กันยายน
- อาจารย์แจ้งให้นักศึกษาทราบถึงกิจกรรมวิชาการคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมทั้งหาตัวแทนที่มีความสามารถ
- อาจารย์แจ้งเรื่องแผนการจัดกิจกรรมในสัปดาห์หน้า พร้อมทั้งให้นักศึกษาจัดเตรียมอุปกรรณ์และป้ายชื่อของน้องๆ

 - ความรู้ที่ได้รับ

- การนำวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ
- การนำวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

1. เคลื่อนไหวและจังหวะ
  • การใช้พลังงาน
  • เสียง/ดนตรี
  • การเคลื่อนไหวร่างกาย
2. ศิลปะสร้างสรรค์

  • การผสมสี
  • ใช้คำถาม
  • การทดลอง
  • การบันทึกผล
3. เสริมประสบการณ์ : เป็นกิจกรรมที่สามารถทดลองให้เด็กเห็นได้

  • ธรรมชาติรอบตัว
  • เนื้อหาสาระต่างๆ
4. กลางแจ้ง
  • เกมต่างๆ เช่น ลูกโป่งใส่น้ำ
5. เกมการศึกษา : เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ โดยเน้นเนื้อหา
  • จับคู่
  • ภาพตัดต่อ
  • ล็อตโต้
  • อนุกรม
  • โดมิโน
  • จิ๊กซอว์
  • อุปมา-อุปมัย
  • เรียงลำดับเหตุการณ์
- กิจกรรมที่นำไปจัดในวันที่ 18 กันยายน

"ขั้วเหมือนผลัก  ขั้วต่างดูด"
วัสดุ- อุปกรณ์

 - แม่เหล็ก
 - วัสดุที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ เช่น คลิปดูดกระดาษ,ไม้บรรทัดเหล็ก,ลูกกุญแจ,ตะปู เป็นต้น
 - วัสดุที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ เช่น ก้อนหิน,ดินสอ,ไม้จิ้มฟัน เป็นต้น

แนวคิด
    แม่เหล็กเป็นของแข็งชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถดูดสารบางชนิดได้ โดยทั่วไป แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือกับขั้วใต้ โดยกฎของแม่เหล็ก คือ ขั้วต่างกันจะดูดกัน และขั้วเหมือนกันจะดูดกัน

วิธีทดลอง
    ให้เด็กๆเลือกวัสดุที่เตรียมไว้ให้ และทดลองโดยการนำแม่เหล็กมาดูดและสามารถบอกได้ว่า วัสดุไหนที่แม่เหล็กดูดได้และวัสดุไหนที่แม่เหล็กดูดไม่ได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 ประจำวันอังคารที่ 4 กันยายน 2555

- ส่งป้ายนิเทศน์พร้อมฟังคำแนะนำเพิ่มเติมจากอาจารย์

ผลงานการจัดป้ายนิเทศน์

- ส่งสมุดวิธีการทำดอกไม้และใบไม้

สมุดวิธีการทำดอกไม้และใบไม้
สมาชิกกลุ่ม
นางสาวขวัญชนก เจริญผล
นางสาวศิริวรรณ เสากำปัง
นางสาวศิวรักษ์ ดาดวง

* ส่งการทดลองวิทยาศาสตร์กลุ่มละ 4 คน (เรื่องสีเต้นระบำ)*

แนวคิด
       แรงตึงผิวเป็นคุณสมบัติของของเหลว(เป็นแรงที่เกิดขึ้นบริเวณที่ผิวของของเหลวสัมผัสกับของเหลวอื่นหรือผิวของแข็ง) เมื่อใส่สารลดแรงตึงผิวลงเล็กน้อยในของเหลว  สารลดแรงตึงผิวจะไปลดแรงตึงผิวของของเหลว เพื่อให้เกิดกระบวนการต่างๆง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้เปียก และกระบวนการทำความสะอาด เป็นต้น

วัสดุ-อุปกรณ์

  - จาน
  - นมสด
  - น้ำยาล้างจาน
  - สีผสมอาหาร
  - หลอดหยด

ขั้นตอน

  1. เทนมลงในจาน วางทิ้งไว้ให้นมนิ่งๆ
  2. หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1 หยด
  3. หยดน้ำยาล้างจานลงบนสีผสมอาหารทีละ 1 หยด หรือใช้ cotton bud ชุบน้ำยาล้างจาน จุ่มลงไปตรงกลางสีที่หยดไว้(ซึ่งสามารถหยดน้ำยาล้างจานลงไปได้เรื่อยๆ)และสังเกตการเปลี่ยนแปลง

สรุป

  - เมื่อหยดสีลงในนม ลักษณะของสีจะเป็นหยดๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่าน้ำนมมีแรงตึงผิวที่พยายามที่จะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้
  - เมื่อหยดน้ำยาล้างจาน ซึ่งมีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวลงไปในน้ำนม จึงทำให้สีที่อยู่ในน้ำนมกระจายตัวและสามารถวิ่งได้ในบริเวณที่มีแรงตึงผิวลดลง


- ให้นักศึกษาไปจัดกิจกรรมในวันที่ 18 กันยายน 2555 ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม โดยมีหัวข้อดังนี้
  • เสียง
           - ลูกโป่ง
           - การเดินทางของเสียง
           - ระดับน้ำที่มีผลต่อระดับเสียง
  • การเปลี่ยนแปลง
           - ปิ้ง/ย่าง
           - นึ่ง/ต้ม
           - ทอด
  • แม่เหล็ก
            - ขั้วต่าง-ดูด
            - ขั้วเหมือน-ผลัก
            - ของเล่น
- จัดกลุ่ม 4 คน ได้หัวข้อเรื่อง"ขั้วเหมือนผลัก ขั้วต่างดูุด"พร้อมกับเขียน
  • ชื่อกิจกรรม ,วัสดุ-อุปกรณ์
  • แนวคิด,วิธีการดำเนินกิจกรรม
  • ป้ายชื่อให้เด็ก
- ดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์มา 1 เรื่อง แล้วตอบคำถามว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างไร

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ประจำวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555

- นักศึกษาจัดป้ายนิเทศน์และเขียนวิธีการทำดอกไม้สำหรับจัดป้ายนิเทศน์ กลุ่มละ 3 คน


ผลงานการจัดป้ายนิเทศน์
สมาชิกกลุ่ม
นางสาวขวัญชนก  เจริญผล
นางสาวศิริวรรณ  เสากำปัง
นางสาวศิวรักษ์  ดาดวง

บันทึกการอบรม วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555


 - ผลงานที่ได้รับจากการอบรม

การทำดอกพุทธรักษาและการเข้าช่อ

การทำดอกกุหลาบจากกระดาษทิชชู

บันทึกการอบรม วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555

- มีการอบรมการจัดป้ายนิเทศน์ โดยอาจารย์ได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และวิธีการทำดอกไม้และใบไม้ไว้สำหรับตกแต่งป้ายนิเทศน์ ซึ่งผลการอบรมมีดังนี้

ดอกไม้และใบไม้แบบต่างๆ


ดอกกุหลาบและใบไม้

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 ประจำวันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2555

- สรุปหน่วยการเรียนรู้จากหนังสือที่อาจารย์นำมา เป็น Mind Map โดยจับกลุ่ม 8 คน( 4 กลุ่ม 4 สาระ)



*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- ให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มละ 4 คน เขียนการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมา 1 เรื่อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 ประจำวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2555

- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ

*อาจารย์ได้นัดชดเชยในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2555*

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 ประจำวันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555

- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ

*อาจารย์ได้นัดชดเชยในวันเสาร์ที่  25 สิงหาคม 2555*

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 ประจำวันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555

**สอบกลางภาค**


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 ประจำวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555

- เราสามารถไปทัศนศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ ดังนี้

  •  ไบเทค บางนา การจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์
  • ท้องฟ้าจำลอง
  •  พิพิธภัณฑ์
               - พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
               - พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
               - พิพิธภัณฑ์เด็ก
               - พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
               - พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน
               - โอเชียล
               - บึงฉวาก

- ประโยชน์ของการออกไปทัศนศึกษา
  • ได้ประสบการณ์ตรง
  • เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • เกิดความตื่นเต้น
  • มีอิสระในการเรียนรู้
  • ได้ความรู้
  • เกิดการใฝ่รู้ = เกิดความสงสัย/เกิดคำถาม/เกิดความอยากรู้
- การออกแบบหน่วยการเรียนรู้(โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง หน่วยช้าง)

- สิ่งที่เด็กรู้เกี่ยวกับช้าง
  • ช้างมี 4 เท้า
  • ช้างมีงวง
  • ช้างมีหางยาว
  • ช้างมีนิ้วเท้าใหญ่
  • ช้างมีหูใบใหญ่
  • ช้างมีผิวหยาบ
- สิ่งที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับช้าง
  • ช้างเกิดมาจากไหน
  • ทำไมช้างตัวใหญ่
  • ช้างนอนตอนไหน
  • ช้างร้องอย่างไร
  • ช้างสืบพันธุ์อย่างไร
  • ช้างกินอะไรเป็นอาหาร
- เมื่อไม่ทราบข้อมูล ควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับช้างจากแหล่งข้อมูล ดังนี้
  • อินเตอร์เน็ต
  • ถามผู้รู้(สัตวแพทย์, ควานช้าง)
  • อ่านหนังสือ
  • ดูวีดีโอ,รูปภาพ,สื่อการสอนต่างๆ
  • สวนสัตว์
*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- เขียนแผนการสอนตามหน่วยที่รับผิดชอบ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 ประจำวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555

- นำผลงานที่แก้ไขมานำเสนออีกครั้ง


ดอกไม้ที่แก้แล้ว

ทำรางเพิ่ม เพื่อนำไปเล่นกับลูกบอลหรรษา

- สาเหตุที่ต้องทำของเล่น เพราะ..
  • การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้
  • การเล่นทำให้เกิดประสบการณ์
  • เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • เด็กได้มีอิสระในการเรียนรู้
- การที่สอนน้องทำของเล่น เพราะ..
  • เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย
  • เด็กได้ลงมือทำ และเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน เกิดการวางแผน
- การเล่น
  • เป็นวิธีการทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
  • เป็นเครื่องมือทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือ การเกิดการเรียนรู้
- เมื่่อเด็กได้ทำการทดลอง
  • ทำให้เด็กเกิดการสังเกต
  • ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ให้นักศึกษาจับกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้และเขียน Mind Map เรื่อง"วิทยาศาสตร์น่ารู้"





























บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 ประจำวันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2555

- นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานพร้อมสาธิตวิธีการเล่น
- ผลงานที่นำเสนอมีดังนี้

วงล้อหรรษา
เชือกขดหดตัว
ดอกไม้หรรษา
- อาจารย์ติชมผลงานที่นำเสนอที่นำเสนอ พร้อมให้นักศึกษากลับไปแก้ไขผลงานให้ดีขึ้น


- วิธีการทำเชือกขดหดตัว

อุปกรณ์ : กรรไกร,เชือก.แหวนน็อต


1. ตัดเชือกยาวประมาณ 24  นิ้ว
2. ใช้ปลายเชือกข้างหนึ่งผูกแหวนน็อต 1 ตัว
และปลายเชือกข้างหนึ่งร้อยเข้ากับแหวนน็อตอีก 10 ตัว

*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- นำผลงานกลับไปแก้ไขพร้อมส่งในสัปดาห์ต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 ประจำวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555

- นักศึกษาดูวีดีโอเรื่อง " มหัศจรรย์ของน้ำ"
- น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต
- ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกาย 70%
- ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90 %
- คุณสมบัติของน้ำ
  • ของแข็ง = น้ำแข็ง 
  • ของเหลว = น้ำ  น้ำที่เป็นของเหลวจะมีอุณหภูมิิ 0 ถึง 100 องศาเซลเซียส
  • ก๊าซ = ไอน้ำ
- การเปลี่ยนสถานะของน้ำ
  • การหลอมเหลว = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วที่บรรจุน้ำแข็ง ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไป จะทำลายพันธะไฮโดรเจนในโครงส้รางผลึกน้ำแข็งทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
  • การแข็งตัว = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง น้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานออกมาในรูปของการคายความร้อน เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึกเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันให้เป็นโครงสร้างผลึก
  • การระเหย = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วซึ่งบรรจุน้ำ น้ำจะดูดกลืนความร้อนนี้ไว้ จนกว่าน้ำจะระเหยกลายเป็นไอน้ำหมดแก้ว(การระเหยจะระเหยตรงส่วนบนของผิวน้ำ)
  • การควบแน่น = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะเปลี่ยนจากก๊าซเป็นของเหลว เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง เพื่อลดแรงของระหว่างโมเลกุล
  • การระเหิด = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซโดยตรง ซึ่งต้องการดูดกลืนความร้อนแฝง
  • การระเหิดกลับ = การที่น้ำเปลี่ยสถานะจากก๊าซเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของความร้อนแฝง
- การเกิดฝน = ฝนเกิดจากการที่น้ำโดนความร้อนจากดวงอาทิตย์ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองเล็กๆ เมื่อมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน จากนั้นก็จะกลั่นตัวออกมาเป็นน้ำฝนตกลงมาสู่พื้นดิน



*งานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้*
- จับคู่ 2 คน (กลุ่มดิฉันมี 3 คน)
- ทำสื่อวิทยาศาสตร์ให้เด็กเล่นเองในมุมประสบการณ์(ทำสื่อ 2 ชิ้น)
- ศึกษาวิธีการทำสื่อ และทำสื่อที่เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อจะนำไปสอนเด็กทำ(1 ชิ้น)

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 ประจำวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555

*ความรู้ที่ได้รับ*

- เด็กอายุแรกเกิด - 2 ขวบ ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้
- เด็กอายุ 2-4 ขวบ เด่นด้านภาษา มีการใช้สัญลักษณ์
- เด็กอายุ 4-6 ขวบ มีการปรับความรู้ใหม่
- มนุษย์เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดในชีวิต

- การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. พัฒนาการทางสติปัญญา
  • อายุ 3 ปี
  • อายุ 4 ปี
  • อายุ 5 ปี
2. วิธีการจัด
  • จัดแบบเป็นทางการ
              - รูปแบบการสอนโครงการวิทยาศาสตร์
              - มีจุดมุ่งหมาย 
  • จัดแบบไม่เป็นทางการ
              - มุมวิทยาศาสตร์
              - สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
  • จัดแบบตามเหตุการณ์
              - ธรรมชาติ
              - สิ่งที่พบเห็น

3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการขั้นพื้นฐาน
          - การจำแนกประเภท
          - การหาความสัมพันธ์
          - การสังเกต พยากรณ์
          - การวัด
          - การสื่อความหมาย
          - การคำนวณ
  • กระบวนการแบบผสม
          - ตั้งสมมติฐาน
          - กำหนดเชิงปฏิบัติการ
          - การกำหนดแลควบคุมตัวแปร
          - การทดลอง
          - การตีความและสรุป

4. การใช้สื่อ
  • เลือก
          - สถานที่
          - พัฒนาการ
          - วิธีการเรียนรู้
          - เนื้อหา
  • เตรียม
  • ใช้
  • ประเมินผล